เกี่ยวกับโครงการ
โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link and City Air Terminal)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารภายในเมืองที่จะเดินทางไปยังท่าอากาศยานได้สะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว ระบบรถไฟฟ้านี้ให้บริการด้วยความเร็ว 160 กม./ชม.วิ่งบนทางยกระดับเลียบทางรถไฟสายตะวันออก ระยะทางประมาณ 28 กม. ผ่าน 8 สถานีีและรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 14,000 ถึง 50,000 คน : วัน : ทิศทาง
ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเลือกใช้บริการได้ 1 ระบบ คือ
-
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SA City Line)
-
ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อให้เป็นประตูในการเดินทาง เข้าสู่ประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางอากาศในภูมิภาค ที่มีขีดความสามารถในการ ให้บริการเทียบเท่ากับสนามบินนานาชาติชั้นนำของโลก ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 นั้น
เพื่อที่จะให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความสมบูรณ์แบบในระดับนานาชาติ รัฐบาลจึงเห็นควร ให้มีระบบรถไฟด่วนเชื่อมระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครกับท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว ตรงต่อเวลา และเชื่อถือได้
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 เห็นชอบตามมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ครั้งที่ 3/2546 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสม ในการลงทุนของโครงการและเสนอแนะรูปแบบในการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟ สายพญาไท-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ ในวงเงินค่าจ้าง 20 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 กำหนดแล้วเสร็จในระยะเวลา 120 วัน
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 เห็นชอบตามมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการออกแบบ รายละเอียดทางวิศวกรรมโครงการทางรถไฟ สายพญาไท-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ ในวงเงินค่าจ้าง 291 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 กำหนดแล้วเสร็จในระยะเวลา 240 วัน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโครงการ ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยรวมมูลค่าการก่อสร้างอุโมงค์ใต้อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวนเงิน 4,082.973 ล้านบาท โดยจะคืนให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ซึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างล่วงหน้าไปก่อน เพื่อให้งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินดำเนินต่อไปได้
-
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการฯ โดยกำหนดยื่นซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 จนได้ผู้ชนะการประกวดราคา
รับจ้างก่อสร้าง ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า Consortium ซึ่งประกอบด้วย- บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- B.Grimm MBM Hong Kong Ltd.
- บริษัท Siemens Aktiengesellschaft จำกัด
- บริษัท ซีเมนต์ จำกัด
- บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ลงนามทำสัญญาจ้างก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่
รฟท.ทภ.1/กส./1/2548 ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 โดยมีราคาค่าจ้างก่อสร้างเป็นเงินจำนวน
25,907,000,000.- บาท แบ่งเป็น- ค่าจ้างก่อสร้างงานโยธาและโครงสร้าง เป็นเงิน 12,284,000,000.- บาท
- ค่าจ้างงานระบบ E&M และจัดหาตู้รถโดยสาร เป็นเงิน 13,623,000,000.- บาท
-
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการคัดเลือกว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
ตามสัญญาเลขที่ รฟท.ทภ.1/ทปษ/1/2548 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2548 ซึ่งประกอบด้วย- บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
- บริษัท ไทยเอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนทส์ จำกัด
- บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท โชติจินดา มูเซล คอนซัลแตนท์ จำกัด
- DE-Consult Dentsche Eisenbahn - Consulting Gmbh
- บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
- บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด
-
ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างทั้งโครงการไม่เกิน 990 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับ
หนังสือแจ้งให้เริ่มงาน โดยแบ่งเป็น- งานโยธาและโครงสร้าง งานระบบราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
และงานจัดหาตู้รถโดยสารไฟฟ้า แล้วเสร็จภายใน 900 วัน - งานทดสอบระบบรวม (Integrated System Testing) และการฝึกอบรมบุคลากร
(Training) เพื่อดำเนินการบริการเดินรถแล้วเสร็จภายใน 90 วัน
- งานโยธาและโครงสร้าง งานระบบราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
-
สัญญาจ้างการก่อสร้างเป็นแบบ Maximum Guarantee Price หมายถึง
จำนวนเงินค่าจ้างในการก่อสร้างโดยครอบคลุมงานทั้งหมด ตามแบบรายละเอียด
และข้อกำหนดทางเทคนิค จะมีจำนวนปริมาณมากหรือน้อยอย่างไร ผู้รับจ้าง
ต้องรับผิดชอบตามราคาในสัญญาจ้างก่อสร้าง โดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้เสนอหาแหล่งเงินกู้เอง
ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ออกหนังสือยินยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง
ตามเนื้องานที่ก่อสร้างจริง ให้กับผู้รับจ้างนำไปเบิกเงินจากธนาคารที่กำหนดไว้
และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้รับภาระค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเองตามสัญญากำหนด
ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่อัตราร้อยละ MLR-2 ต่อปี ตามอัตราเฉลี่ยที่กำหนดโดย
สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
โดยมีค่าธรรมเนียมทางการเงินรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,666,214,700.- บาท โดยแบ่งเป็น- ค่าธรรมเนียมในการจัดการทางด้านการเงิน เป็นเงิน 1,557,210,000.- บาท
- ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงิน 109,004,700.- บาท
-
จัดให้มีการเดินรถเป็น 2 ระบบ ดังนี้
ระบบรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SA Express (Suvarnabhumi Airport Express) เป็นระบบรถไฟฟ้าด่วนเชื่อมระหว่างสถานีรับส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง (City Air Terminal – CAT) ซึ่งตั้งอยู่ที่มักกะสันและปลายทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะจอดรับส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีต้นทางและปลายทางเท่านั้น มีระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางไม่เกิน 15 นาที จำนวน 4 ขบวนๆ ละ 4 ตู้โดยสารระบบรถไฟท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SA City Line (Suvarnabhumi Airport City Line) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่บริการควบคู่กับรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการระหว่างสถานีพญาไท ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และสถานีปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะจอดรับส่งผู้โดยสารตามสถานีปลายทางอีก 6 สถานี ซึ่งรวมถึงสถานีรับส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมืองด้วย มีระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางไม่เกิน 30 นาที จำนวน 5 ขบวนๆ ละ 3 ตู้โดยสาร
-
ระบบของทางและอาคารสถานีเป็นรูปแบบทางรถไฟยกระดับและอาคารสถานีเกือบทั้งหมด ความสูงประมาณ 22 เมตร ยกเว้นช่วงก่อนเข้าสู่สถานีสุวรรณภูมิ จะเป็นทางวิ่งระดับพื้นดินและจะลดระดับลงสู่ใต้ดินที่สถานีสุวรรณภูมิ โดยใช้รางระบบ Standard Gauge ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร กำหนดความเร็วของตัวรถ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อาคารสถานีทั้งหมด 8 สถานี ดังนี้- สถานีพญาไท
- สถานีราชปรารภ
- สถานีมักกะสัน (CAT)
- สถานีรามคำแหง
- สถานีหัวหมาก
- สถานีทับช้าง
- สถานีลาดกระบัง
- สถานีสุวรรณภูมิ
-
งานโยธาและงานโครงสร้าง ประกอบด้วย
- โครงสร้างทางยกระดับ
- สถานียกระดับ 7 แห่ง
- สถานีใต้ดิน (งานสถาปัตยกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวก)
- อาคารสถานีรับส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง (CAT)
- โครงสร้างรองรับย่านจอดสับเปลี่ยนรถ
- โรงซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
- สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร เช่น บันไดเลื่อน ลิฟท์ ฯลฯ
- งานถนนและปรับปรุงพื้นที่ต่อเชื่อม
งานระบบรางและงานระบบไฟฟ้า-เครื่องกล
- ระบบรางรถไฟฟ้า/แนวราง (Trackwork/Alignment)
- ระบบอาณัติสัญญาณและระบบควบคุมการเดินรถ (Signaling & Train Control)
- ระบบโทรคมนาคม (Communication)
- ระบบจ่ายกำลังขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า (Electrification)
- ระบบจำหน่ายตั๋วอัติโนมัติ (Automatic Fare Collection)
- ระบบชานชาลาประตูอัติโนมัติ (Platform Screen Door)
- อุปกรณ์ซ่อมบำรุงรักษาในโรงซ่อมบำรุง (Depot and Workshop Equipment)
- ระบบการตรวจบัตรโดยสารและระบบขนถ่ายกระเป๋า (Check-in Facilities and Baggage Handling System)
งานจัดหาตู้รถโดยสารไฟฟ้า
- รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 16 ตู้ (Suvarnabhumi Airport Express)
- รถไฟฟ้าท่าอากาาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 15 ตู้ (Suvarnabhumi Airport City Line)