เงื่อนไขการใช้บัตรโดยสาร

 

เงื่อนไขเหรียญโดยสาร

  1. ผู้โดยสารสามารถออกเหรียญโดยสารจากเครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ หรือที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร โดยชำระเป็นเงินสดตามเวลาที่กำหนด
  2. เหรียญโดยสารใช้สำหรับการเดินทางเที่ยวเดียว มีอัตราค่าโดยสารตามจำนวนสถานีที่ผู้โดยสารเลือก
  3. เหรียญโดยสารสามารถใช้เดินทาง ภายในเวลาเปิดให้บริการในวันที่ออกเหรียญโดยสาร และจะต้องเข้าใช้บริการที่สถานีที่ออกเหรียญโดยสารเท่านั้น หากไม่ใช้เดินทางภายในเวลาดังกล่าว จะถือว่าเหรียญโดยสารนั้นหมดอายุ แต่สามารถแลกคืนเงินได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
  4. เหรียญโดยสารสามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ตามมูลค่าที่บันทึกไว้ในเหรียญโดยสาร ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ถูกต้องที่สุด โดยจะสามารถแลกคืนได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

- กรณีที่ผู้ถือเหรียญโดยสารอยู่ในพื้นที่สาธารณะ หรือในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน

- กรณีที่ผู้โดยสารออกเหรียญโดยสาร แล้วไม่ได้ใช้เดินทางในวันเวลาดังกล่าว สามารถนำมาแลกคืนได้ในเวลาทำการ

5.  การแลกคืนจะต้องกระทำภายในเวลาทำการของห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตามที่ได้กำหนด โดยจะต้องส่งมอบเหรียญโดยสารคืนให้พนักงานที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ทั้งนี้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนด

6.  กรณีที่มูลค่าของเหรียญโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารที่เดินทาง ผู้โดยสารที่ถือเหรียญโดยสารนั้นจะต้องชำระค่าโดยสารส่วนต่าง ระหว่างมูลค่าในเหรียญโดยสารกับอัตราค่าโดยสารก่อนออกจากระบบ

7. ผู้โดยสารที่ทำเหรียญโดยสารชำรุดทางกายภาพหรือสูญหายระหว่างเดินทางอยู่ในระบบ การรถไฟฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว

เหรียญโดยสารเป็นสมบัติของการรถไฟฯ ไม่อนุญาตให้นำออกนอกพื้นที่การให้บริการ

 

เงื่อนไขบัตรโดยสาร

  1. บัตรโดยสารสามารถออกได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ภายในเวลาทำการ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ
  2. บัตรโดยสารสามารถเติมมูลค่าได้ ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและเครื่องเติมมูลค่าบัตรโดยสารอัตโนมัติ ภายในเวลาทำการ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ
  3. การออกบัตรโดยสารในครั้งแรก จะต้องมีมูลค่าตามที่การรถไฟฯ กำหนด รวมถึงค่ามัดจำบัตร ค่าธรรมเนียมการออกบัตร และค่าธรรมเนียมการจัดทำหน้าบัตร
  4. มูลค่าเดินทางของบัตรโดยสารแบบเติมเงิน จะลดลงโดยอัตโนมัติตามอัตราค่าโดยสารของระยะทางที่เดินทางจริง ซึ่งจะแสดงมูลค่าคงเหลือของบัตร (ไม่รวมค่ามัดจำบัตร) ที่หน้าจอของประตูเข้าออกผู้โดยสารอัตโนมัติ เมื่อผู้โดยสารเข้าหรือออกจากพื้นที่ชำระเงินแล้ว
  5. บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวมีอายุไม่เกิน 45 วัน หลังจากออกบัตร หากไม่ใช้ภายในกำหนด บัตรนี้จะไม่สามารถใช้งานได้
  6. บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวเริ่มนับวันหมดอายุการใช้งาน 30 วัน (นับจากวันที่เริ่มใช้งานที่ประตูอัตโนมัติขาเข้า)
  7. บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวไม่สามารถขอแลกเที่ยวคงเหลือที่ใช้งานไม่หมดคืนเป็นเงินได้
  8. บัตรโดยสารแบบ 30วันจำกัดเที่ยวเมื่อมีการเติมเที่ยวเดินทางวันหมดอายุของบัตรจะเริ่มนับวันหมดอายุใหม่ทันที เช่น วันหมดอายุในบัตรคงเหลือ 20วัน เมื่อเติมเที่ยววันหมดอายุบัตรจะคงเหลือ 30วัน ทันทีไม่สะสมวันหมดอายุ

 

เงื่อนไขการคืนตั๋วโดยสาร

เงื่อนไขการคืนเหรียญโดยสาร

  1. การคืนเหรียญโดยสารที่ยังไม่ได้ใช้เดินทางและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยที่ยังไม่ได้แตะ หรือแตะที่ประตูอัตโนมัติขาเข้าแล้ว แต่ผู้โดยสารยังไม่เดินผ่านเข้าไปในพื้นที่ชำระเงิน สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ตามมูลค่าที่แสดงภายในเหรียญโดยสาร
  2. กรณีที่เหรียญโดยสารชำรุดทางกายภาพขณะเดินทางอยู่ในระบบ การรถไฟฯ จะคิดค่าธรรมเนียมตามที่การรถไฟฯ กำหนด

เงื่อนไขการคืนบัตรโดยสาร

  1. บัตรโดยสารที่สามารถขอคืนบัตรได้ ได้แก่ บัตรโดยสารเติมเงิน (Stored Value) ประเภทบุคคลทั่วไป, ผู้สูงอายุ, นักเรียน/นักศึกษา และบัตรโดยสารอื่น ๆ ตามที่การรถไฟฯ กำหนด
  2. บัตรโดยสารที่ไม่สามารถขอคืนบัตรได้ ได้แก่ บัตรโดยสารประเภท 30 วัน (จำกัดเที่ยว) และบัตรโดยสารอื่น ๆ ตามที่การรถไฟฯ กำหนด
  3. บัตรโดยสารแบบเติมเงินที่ชำรุดทางกายภาพ เช่น บัตรหัก/งอ/เจาะ/บิด เป็นต้น ผู้โดยสารจะได้รับคืนมูลค่าการเดินทางคงเหลือ แต่จะไม่ได้รับเงินค่ามัดจำบัตรคืน
  4. กรณีบัตรโดยสารอ่านค่าได้ แต่มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ผู้โดยสารสามารถดำเนินการขอคืนบัตรได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการคืนบัตร (ถ้ามี) และได้รับคืนค่ามัดจำบัตร (ถ้ามี)
  5. กรณีบัตรโดยสารที่ อ่านค่าไม่ได้ ไม่สามารถตรวจสอบมูลค่าการเดินทางคงเหลือในบัตรได้ และบัตรมีการชำรุดทางกายภาพ จนไม่สามารถอ่านหมายเลขบนหลังบัตร การรถไฟฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนมูลค่าการเดินทางคงเหลือ และค่ามัดจำบัตร (ถ้ามี) ให้กับผู้โดยสาร
  6. ผู้โดยสารสามารถขอคืนบัตรโดยสารได้ (ทั้งที่ใช้ในการเดินทางแล้วและยังไม่ได้ใช้) ยกเว้น บัตรโดยสารอื่น (ที่เงื่อนไขระบุว่าไม่สามารถคืนเงินได้)

 

 

เงื่อนไขบัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง X ขสมก. Transit Pass RED Line SRTET X BMTA

  1. บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน หรือ 50 เที่ยว
  2. บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน สามารถออกได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ภายในเวลาทำการ หรือเขตการเดินรถหรือตามที่ ขสมก. กำหนด
  3. การออกบัตรโดยสารในครั้งแรก จะต้องมีมูลค่าตามที่การรถไฟฯ กำหนด รวมถึงค่ามัดจำบัตร ค่าธรรมเนียมการออกบัตร และค่าธรรมเนียมการจัดทำหน้าบัตร
  4. กรณีซื้อบัตรแล้วเกิดปัญหาไม่สามารถใช้บัตรได้ สามารถเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ซื้อบัตร พร้อมทั้งนำเอกสารใบเสร็จมาแสดง โดยไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่
  5. ใช้บัตรแตะชำระค่าโดยสารที่เครื่อง EDC ที่จุดรับชำระที่รถไฟฟ้าสายสีแดงกำหนด และบนรถขสมก.
  6. บัตรโดยสารเหมาจ่าย 30 วัน สามารถเติมมูลค่าได้ ผ่านแอพพลิเคชั่น Krungthai NEXT สแกน QR Code หลังบัตร หรือเลือกเมนูจ่ายบิล ผ่าน COM. CODE : 7675  , ตู้เอทีเอ็ม ( ATM ) ธนาคารกรุงไทย , Mobile Banking ของทุกธนาคาร สแกน QR Code หลังบัตร และชำระเงินสดผ่านเครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตรทั้ง รถไฟฟ้าสายสีแดง และ ขสมก.
  7. หลังการเติมเงิน บัตรมีอายุ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แตะชำระครั้งแรกที่รถไฟฟ้าสายสีแดง หรือ ขสมก.อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลูกค้าชำระค่าโดยสารครั้งแรกที่รถไฟฟ้าสายสีแดง วันที่ 1 ม.ค. 66 บัตรจะใช้งานทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และ ขสมก. ได้ถึงวันที่ 30 ม.ค. 66 เท่านั้น จนกว่าจะเติมเงินครั้งถัดไป
  8. กรณีใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง จะนับจำนวนเที่ยวสูงสุด 50 เที่ยว ต่อการเติมเงินหนึ่งครั้ง หากใช้จำนวนเที่ยว 50 เที่ยว หมดก่อน 30 วัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสาร ขสมก.ได้จนครบ 30 วัน เช่น ลูกค้าใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง ครั้งแรกวันที่ 1 ม.ค. 66 ครบ 50 เที่ยว ในวันที่ 25 ม.ค. 66 ลูกค้าวัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสาร ขสมก.ได้จนถึงวันที่ 30 ม.ค. 66 ได้ตามปกติ จนกว่าจะเติมเงินรอบต่อไป
  9. บัตรเหมาจ่าย 30 วัน ใช้ชำระค่าโดยสารให้ ขสมก. และ รฟท.(สายสีแดง) เท่านั้น ไม่สามารถถอนเงิน และโอนเงินได้
  10. ตรวจสอบวันหมดอายุ และการใช้งานล่าสุดที่จุดบริการขสมก. และ รฟท. ผ่านเครื่อง EDC หรือช่องทางธนาคารอื่น ๆ ในอนาคต
  11. กรณีเติมเงินแล้ว ไม่สามารถขอคืนเป็นเงินสดได้
  12. บัตรเหมาจ่าย 30 วัน สามารถเติมล่วงหน้าได้ 1 เดือน ก่อนสิทธิ์ในการเดินทางจะหมด เท่านั้น

 

กรณีบัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง X ขสมก. ชำรุดหรือสูญหาย

กรณีบัตรชำรุด

  1. นำบัตรที่ชำรุดมาตรวจสอบที่เครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตร ก่อนการออกบัตรใหม่ ( มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตรใหม่ )
  2. หลังการตรวจสอบ กรณีบัตรชำรุดแต่ยังไม่เคยใช้งานบัตรมาก่อน สามารถเปลี่ยนบัตรใหม่โดยไม่มีค่าใช่จ่าย

กรณีบัตรสูญหาย

  1. กรณีลงทะเบียนบัตร นำบัตรประชาชนมาตรวจสอบที่เครื่อง EDC ณ จุดจำหน่ายบัตร โดยระบบจะโอนจำนวนวันใช้งานและจำนวนเที่ยวเข้าบัตรใหม่ ( มีค่าใช้จ่ายในการออกบัตร )
  2. กรณีไม่ได้ลงทะเบียนบัตร เทียบเท่าการใช้เงินสด บัตรหาย เงินหาย เนื่องจากไม่สามารถยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรที่สูญหายได้